เทศกาลท่องเที่ยวทุ่งทานตะวัน ปี 2551-2552

เทศกาลท่องเที่ยวทุ่งทานตะวัน จังหวัดสระบุรี ประจำปี 2551 เริ่มแล้ว โดยภายในwebsit ประกอบได้ด้วย การเดินทางเที่ยวทุ่งทานตะวัน โดยทางรถยนต์ และทางรถไฟ กำหนดการทุ่งทานตะวันบาน สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง จุดชมทุ่งทานตะวัน เขื่อนป่าสัก

The festival celebrates the four month sunflower season where thousands of acres of farmland grow golden with the happy sunflower faces. As the flowers bloom in the lush soils of the district, cool breezes waft across the volcanic plains from the mountains nearby and the gentle motion of the sunflowers makes for a poetic and picturesque scene that shouldn't be missed.
Saraburi is certainly among the list of first tourist destinations from Bangkok and it can be done in a single day. It is an ancient town, housing the Lord Buddha’s footprint which makes this province a worthwhile place to visit.

ท่านสามารถตรวจสอบ บริเวณที่ทานตะวันบาน ดูแผนที่การไปทุ่งทานตะวัน ทั้งทางรถไฟ และทางรถยนต์ ได้ที่ blog นี้ครับ

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดลพบุรี

2.1 ที่ตั้งและขนาด

จังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทย บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำลพบุรี มีระยะทาง ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือตามเส้นทางถนนพหลโยธิน 153 กิโลเมตรหรือตามเส้นทางรถไฟประมาณ 133 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 6,641.859 ตร.กม. หรือ ประมาณ 3,874,846 ไร่

2.2 อาณาเขต

จังหวัดลพบุรีมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอตากฟ้าและอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอพระพุทธบาทและอำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอเทพสถิตย์ จังหวัดชัยภูมิ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมาและอำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์

ภาพที่ 1 แสดงที่ตั้งและอาณาเขต


2.3 ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศจังหวัดลพบุรี จากรายงานการสำรวจของกรมพัฒนาที่ดิน 2532

สามารถแบ่งตามธรณีสัณฐาน ได้ดังนี้

ที่ราบน้ำท่วมถึง

เกิดจากการทับถมของตะกอนลำน้ำใหญ่ในฤดูน้ำหลากแต่ละปี น้ำจากแม่น้ำลำคลองจะไหล

ท่วมบริเวณนี้แล้วจะพัดพาเอาตะกอนมาทับถมกันทุกปี ทำให้เกิดมีสภาพเป็นที่ราบ มีความลาดเทน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่กว้างใหญ่อยู่ในอำเภอท่าวุ้ง บ้านหมี่และอำเภอเมืองลพบุรี พื้นที่บริเวณนี้จะสูงกว่าระดับน้ำทะเล 2 20 เมตร ส่วนการทับถมของตะกอนใหม่จากแม่น้ำป่าสักจะทำให้เกิดเป็นที่ราบลุ่มเป็นแนวแคบ ๆ ตามความยาวของแม่น้ำ ซึ่งไหลผ่านอาณาเขตอำเภอชัยบาดาลและอำเภอพัฒนานิคม จากทิศเหนือลงทิศใต้ ที่ราบลุ่มบริเวณนี้จะมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 25 60 เมตร บริเวณพื้นที่ราบลุ่มนี้ถูกใช้ประโยชน์ในการทำนาส่วนใหญ่และได้ผลดี

ลานตะพักน้ำกลางเก่ากลางใหม่รวมทั้งเนินตะกอนรูปพัด

ส่วนใหญ่พบเกิดอยู่ติดต่อกับที่ราบน้ำท่วมถึง ลักษณะสภาพส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบเรียบมีความลาดเทน้อยกว่า 1 เปอร์เซนต์ พบเป็นบริเวณกว้างในเขตอำเภอบ้านหมี่ อำเภอเมืองลพบุรีและอำเภอโคกสำโรง โดยจะมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 8 20 เมตร สำหรับเนินตะกอนรูปพัด พบเกิดเป็นส่วนน้อยและมักอยู่บริเวณเชิงเขา การใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ทำนาซึ่งให้ผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ดี

ลานตะพักน้ำเก่า

เกิดจากการทับถมของตะกอนลำน้ำที่มาทับถมกันนานแล้ว โดยแบ่งเป็นลานตะพักน้ำระดับต่ำ ซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 20 50 เมตร และลานตะพักน้ำระดับสูง ซี่งอยู่สูงจากะดับน้ำทะเลประมาณ 50 70 เมตร ลานตะพักน้ำระดับต่ำส่วนใหญ่พบอยู่ติดต่อกับลานตะพักน้ำกลางเก่ากลางใหม่ มีความลาดเทน้อยกว่า 1 เปอร์เซนต์ และพบเป็นบริเวณเล็กน้อย ในเขตอำเภอโคกสำโรงและอำเภอพัฒนานิคม ใช้ประโยชน์ในการทำนาเป็นส่วนใหญ่ ให้ผลผลิตค่อนค้างต่ำ ส่วนลานตะพักน้ำระดับสูงมีพื้นที่ติดต่อและสูงขึ้นมาจากลานตะพักน้ำระดับต่ำ สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นใหญ่ มีความลาดเท 2 8 เปอร์เซ็นต์ พบเป็นบริเวณเล็กน้อยในเขตอำเภอโคกสำโรงและอำเภอพัฒนานิคมใช้ประโยชน์ในการทำไร่

พื้นผิวที่ถูกกัดกร่อนและเนินเขา

พื้นที่เป็นลูกคลื่นส่วนใหญ่มีความลาดเท ประมาณ 2 -16 เปอร์เซ็นต์ สภาพภูมิประเทศแบบนี้จะพบเป็นบริเวณกว้างในเขตอำเภอชัยบาดาล อำเภอพัฒนานิคม อำเภอโคกสำโรงและทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอเมืองลพบุรี ส่วนใหญ่ที่ดินจะใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชไร่

ภูเขา

พื้นที่บริเวณนี้เกิดจากการโค้งตัวและการยุบตัวของผิวโลก ทำให้มีระดับความสูงต่ำต่างกันมาก มีความลาดเทมากกว่า 16 เปอร์เซ็นต์ และมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100 750 เมตร พบอยู่กระจัดกระจายในอำเภอชัยบาดาล อำเภอพัฒนานิคม อำเภอโคกสำโรง และทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอเมืองลพบุรี ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำกสิกรรม บริเวณนี้เป็นที่ลาดชันเชิงซ้อน

กล่าวโดยสรุป สภาพภูมิประเทศของจังหวัดลพบุรี อาจแบ่งได้เป็น 2 บริเวณ คือ บริเวณพื้นที่ราบสลับเนินเขาและภูเขา ครอบคลุมพื้นที่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเมืองลพบุรีบางส่วนด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอบ้านหมี่ ด้านเหนือและด้านใต้ของอำเภอโคกสำโรง พื้นที่เกือบทั้งหมดของอำเภอสระโบสถ์ อำเภอโคกเจริญ อำเภอท่าหลวง อำเภอชัยบาดาลและอำเภอพัฒนานิคม คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 70 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ทั้งหมด อีกบริเวณหนึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มครอบคลุมพื้นที่อำเภอท่าวุ้ง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอเมืองลพบุรี บางส่วนของอำเภอบ้านหมี่และอำเภอโคกสำโรง คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งหมด

2.4 ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศในบริเวณจังหวัดลพบุรี อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากลมมรสุมทั้งสองแล้ว ยังได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่นและพายุใต้ฝุ่นอีกด้วย โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน

ตามปกติในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปีนั้น ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดียจะพัดพาความชื้นเข้าสู่แผ่นดิน ส่งผลให้เกิดฝนตกในบริเวณจังหวัดลพบุรี โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกมากที่สุด ส่วนระยะเวลาที่เหลือเป็นช่วงของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นลมหนาวและแห้งจากประเทศจีนที่จะแผ่มาปกคลุม นอกจากนี้ยังมีพายุไซโคลนจากทะเลจีนใต้ ที่จะทำให้เกิดฝนตกหนักในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนเช่นกัน

จากข้อมูลสถิติภูมิอากาศของสถานีอุตุนิยมวิทยาลพบุรี พบว่าจังหวัดลพบุรีมีอุณหภูมิสูงสุด 41.8 องศา เซลเซียส เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2503 มีอุณหภูมิต่ำสุด 8.4 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2503 ความชื้นสัมพันธ์ต่ำสุด 11 % เมื่อวันที่ 25,26 กุมภาพันธ์ 2515 ฝนตกหนักที่สุดใน 1 ชั่วโมง วัดได้ 86.8 มม. เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2507 ฝนตกหนักที่สุดใน 1วัน วัดได้ 203.4 มม. เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2533 ฝนตกหนักที่สุดใน 1 เดือน วัดได้ 516.5 มม. เมื่อเดือนกันยายน 2515 ฝนตกหนักที่สุดใน 1ปี วัดได้ 1,951.1 มม. เมื่อ พ.ศ.2510 ฝนตกน้อยที่สุดใน 1 ปี วัดได้ 772.1 มม. เมื่อ พ.ศ.2522 และลมแรงที่สุด 96.4 กม./ชม ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2505

ฝน

ปริมาณน้ำฝนของจังหวัดลพบุรี ระหว่างปี 2544 ถึง 2548 จะอยู่ในช่วง 877 มม. ถึง 1,029.60 มม.

ฝนตกมากที่สุด ในปี 2546 วัดได้ถึง 1,029.60 มม. จำนวนวันฝนตก 114 วัน ส่วนฝนตกน้อยที่สุดในปี 2544 วัดได้ 877 มม. จำนวนวันฝนตก 134

ตารางที่ 1 แสดงปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันที่ฝนตก ปี 2544-2548

ปี พ..

ปริมาณน้ำฝน(มม.)

จำนวนวันที่ฝนตก(วัน)

2544

877

134

2545

1,091

127

2546

1,029.60

114

2547

971.2

95

2548

983.3

111

ที่มา : สถานีอุตุนิยมวิทยาลพบุรี

อุณหภูมิ

ในช่วงระหว่างปี 2544 ถึง 2548 จังหวัดลพบุรี มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี มีค่าอยู่ในช่วง

28.3 องศาเซลเซียส ถึง 28.60 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ในช่วง 14.5 องศาเซลเซียส ถึง 17.5 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิต่ำสุดที่วัดได้ 14.5 องศาเซลเซียส ในปี 2548 และอุณหภูมิสูงสุดอยู่ในช่วง 32.0 องศาเซลเซียส ถึง 38.8 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิสูงที่สุดวัดได้ 38.8 องศาเซลเซียส เมื่อปี 2547

ตารางที่ 2 แสดงอุณหภูมิต่ำสุด อุณหภูมิสูงสุดและอุณหภูมิเฉลี่ย ปี 2544-2548

ปี พ.ศ.

อุณหภูมิต่ำสุด

อุณหภูมิสูงสุด

อุณหภูมิเฉลี่ย

พ.ศ.2544

16.4

38.5

28.3

พ.ศ.2545

17.5

38.6

28.4

พ.ศ.2546

15.9

38.0

28.4

พ.ศ.2547

16.5

38.8

28.3

พ.ศ.2548

14.5

38.1

28.6

ในปี 2548 จังหวัดลพบุรี มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี มีค่าอยู่ในช่วง 25.0 องศาเซลเซียส

ถึง 30.60 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ในช่วง 14.5 องศาเซลเซียส ถึง 24.0 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิ ต่ำสุดที่วัดได้ 14.5 องศาเซลเซียส เมื่อเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดอยู่ในช่วง 34.0 องศาเซลเซียส ถึง 38.1

องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิสูงที่สุดวัดได้ 38.1 องศาเซลเซียส เมื่อเดือนเมษายน

ตารางที่ 3 แสดงอุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิต่ำสุด และอุณหภูมิเฉลี่ย รายเดือนในปี 2549

เดือน

อุณหภูมิสูงสุด

อุณหภูมิต่ำสุด

อุณหภูมิเฉลี่ย

มกราคม

35.7

17.4

26.6

กุมภาพันธ์

36.4

20.3

28.4

มีนาคม

37.0

22.0

29.5

เมษายน

36.9

22.0

29.5

พฤษภาคม

36.9

22.4

29.7

มิถุนายน

36.4

22.2

29.3

กรกฎาคม

34.8

21.5

28.2

สิงหาคม

35.2

22.3

28.8

กันยายน

-

-

-

ตุลาคม

-

-

-

พฤศจิกายน

-

-

-

ธันวาคม

-

-

-

ที่มา : สถานีอุตุนิยมวิทยาลพบุรี (ข้อมูล ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2549)


Dancer ดอกทานตะวัน

Hotels Thailand

Google Maps for Thailand Hotels - HotelThailand News


Google MapGoogle MapGoogle Map

It's time to clean up those off-scale hotel maps!

Google MapHotelThailand recently launched Google Maps, a free web mapping application provided by Google that powers many map-based services and embedded maps on our website via the Google Maps API. It offers precise street maps and hotel locator for destinations in Thailand. Interative maps are already implemented in some of the country's most popular tourist cities such as Bangkok, Phuket, Krabi and Chiang Mai where majority of our customers make a booking request.

So how does it work? We simply integrate Google Maps into our website with our own data points. The high quality Google Maps will appear under "Interactive Map" on the Hotel Overview section where customer can find the exact location of the selected hotel. Price and traveler rating of nearby hotels within the same neighbourhood can be compared by just putting a mouse over each hotel icon to view the essential details. The interactive map can be zoomed in so building and street names can be read or zoomed out so other areas can be viewed. For mountain and beach destinations, the surrounded geographical features will also be displayed on the maps to provide accurate information and help customers plan their vacation better.

So far, HotelThailand already implemented Google Maps on the following Thailand destinations;
Bangkok
Krabi
Koh Lanta
Phuket
Samui
Phi Phi Islands
Phang Nga
Chiang Mai
Pattaya
Koh Chang (Trat)

ทุ่งทานตะวัน sunflower season ©Template Blogger Green by Dicas Blogger.

TOPO