ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดลพบุรี
2.1 ที่ตั้งและขนาด
จังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทย บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำลพบุรี มีระยะทาง ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือตามเส้นทางถนนพหลโยธิน 153 กิโลเมตรหรือตามเส้นทางรถไฟประมาณ
2.2 อาณาเขต
จังหวัดลพบุรีมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอตากฟ้าและอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอพระพุทธบาทและอำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอเทพสถิตย์ จังหวัดชัยภูมิ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมาและอำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์
ภาพที่ 1 แสดงที่ตั้งและอาณาเขต
2.3 ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศจังหวัดลพบุรี จากรายงานการสำรวจของกรมพัฒนาที่ดิน 2532
สามารถแบ่งตามธรณีสัณฐาน ได้ดังนี้
ที่ราบน้ำท่วมถึง
เกิดจากการทับถมของตะกอนลำน้ำใหญ่ในฤดูน้ำหลากแต่ละปี น้ำจากแม่น้ำลำคลองจะไหล
ท่วมบริเวณนี้แล้วจะพัดพาเอาตะกอนมาทับถมกันทุกปี ทำให้เกิดมีสภาพเป็นที่ราบ มีความลาดเทน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่กว้างใหญ่อยู่ในอำเภอท่าวุ้ง บ้านหมี่และอำเภอเมืองลพบุรี พื้นที่บริเวณนี้จะสูงกว่าระดับน้ำทะเล 2 –
ลานตะพักน้ำกลางเก่ากลางใหม่รวมทั้งเนินตะกอนรูปพัด
ส่วนใหญ่พบเกิดอยู่ติดต่อกับที่ราบน้ำท่วมถึง ลักษณะสภาพส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบเรียบมีความลาดเทน้อยกว่า 1 เปอร์เซนต์ พบเป็นบริเวณกว้างในเขตอำเภอบ้านหมี่ อำเภอเมืองลพบุรีและอำเภอโคกสำโรง โดยจะมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 8 –
ลานตะพักน้ำเก่า
เกิดจากการทับถมของตะกอนลำน้ำที่มาทับถมกันนานแล้ว โดยแบ่งเป็นลานตะพักน้ำระดับต่ำ ซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 20 –
พื้นผิวที่ถูกกัดกร่อนและเนินเขา
พื้นที่เป็นลูกคลื่นส่วนใหญ่มีความลาดเท ประมาณ 2 -16 เปอร์เซ็นต์ สภาพภูมิประเทศแบบนี้จะพบเป็นบริเวณกว้างในเขตอำเภอชัยบาดาล อำเภอพัฒนานิคม อำเภอโคกสำโรงและทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอเมืองลพบุรี ส่วนใหญ่ที่ดินจะใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชไร่
ภูเขา
พื้นที่บริเวณนี้เกิดจากการโค้งตัวและการยุบตัวของผิวโลก ทำให้มีระดับความสูงต่ำต่างกันมาก มีความลาดเทมากกว่า 16 เปอร์เซ็นต์ และมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100 –
กล่าวโดยสรุป สภาพภูมิประเทศของจังหวัดลพบุรี อาจแบ่งได้เป็น 2 บริเวณ คือ บริเวณพื้นที่ราบสลับเนินเขาและภูเขา ครอบคลุมพื้นที่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเมืองลพบุรีบางส่วนด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอบ้านหมี่ ด้านเหนือและด้านใต้ของอำเภอโคกสำโรง พื้นที่เกือบทั้งหมดของอำเภอสระโบสถ์ อำเภอโคกเจริญ อำเภอท่าหลวง อำเภอชัยบาดาลและอำเภอพัฒนานิคม คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 70 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ทั้งหมด อีกบริเวณหนึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มครอบคลุมพื้นที่อำเภอท่าวุ้ง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอเมืองลพบุรี บางส่วนของอำเภอบ้านหมี่และอำเภอโคกสำโรง คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งหมด
2.4 ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศในบริเวณจังหวัดลพบุรี อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากลมมรสุมทั้งสองแล้ว ยังได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่นและพายุใต้ฝุ่นอีกด้วย โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน
ตามปกติในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปีนั้น ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดียจะพัดพาความชื้นเข้าสู่แผ่นดิน ส่งผลให้เกิดฝนตกในบริเวณจังหวัดลพบุรี โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกมากที่สุด ส่วนระยะเวลาที่เหลือเป็นช่วงของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นลมหนาวและแห้งจากประเทศจีนที่จะแผ่มาปกคลุม นอกจากนี้ยังมีพายุไซโคลนจากทะเลจีนใต้ ที่จะทำให้เกิดฝนตกหนักในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนเช่นกัน
จากข้อมูลสถิติภูมิอากาศของสถานีอุตุนิยมวิทยาลพบุรี พบว่าจังหวัดลพบุรีมีอุณหภูมิสูงสุด 41.8 องศา เซลเซียส เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2503 มีอุณหภูมิต่ำสุด
ฝน
ปริมาณน้ำฝนของจังหวัดลพบุรี ระหว่างปี 2544 ถึง 2548 จะอยู่ในช่วง
ฝนตกมากที่สุด ในปี 2546 วัดได้ถึง
ตารางที่ 1 แสดงปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันที่ฝนตก ปี 2544-2548
ปี พ.ศ. | ปริมาณน้ำฝน(มม.) | จำนวนวันที่ฝนตก(วัน) |
2544 | 877 | 134 |
2545 | 1,091 | 127 |
2546 | 1,029.60 | 114 |
2547 | 971.2 | 95 |
2548 | 983.3 | 111 |
ที่มา : สถานีอุตุนิยมวิทยาลพบุรี
อุณหภูมิ
ในช่วงระหว่างปี 2544 ถึง 2548 จังหวัดลพบุรี มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี มีค่าอยู่ในช่วง
ตารางที่ 2 แสดงอุณหภูมิต่ำสุด อุณหภูมิสูงสุดและอุณหภูมิเฉลี่ย ปี 2544-2548
ปี พ.ศ. | อุณหภูมิต่ำสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิเฉลี่ย |
พ.ศ.2544 | 16.4 | 38.5 | 28.3 |
พ.ศ.2545 | 17.5 | 38.6 | 28.4 |
พ.ศ.2546 | 15.9 | 38.0 | 28.4 |
พ.ศ.2547 | 16.5 | 38.8 | 28.3 |
พ.ศ.2548 | 14.5 | 38.1 | 28.6 |
ในปี 2548 จังหวัดลพบุรี มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี มีค่าอยู่ในช่วง
ถึง
องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิสูงที่สุดวัดได้
ตารางที่ 3 แสดงอุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิต่ำสุด และอุณหภูมิเฉลี่ย รายเดือนในปี 2549
เดือน | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด | อุณหภูมิเฉลี่ย |
มกราคม | 35.7 | 17.4 | 26.6 |
กุมภาพันธ์ | 36.4 | 20.3 | 28.4 |
มีนาคม | 37.0 | 22.0 | 29.5 |
เมษายน | 36.9 | 22.0 | 29.5 |
พฤษภาคม | 36.9 | 22.4 | 29.7 |
มิถุนายน | 36.4 | 22.2 | 29.3 |
กรกฎาคม | 34.8 | 21.5 | 28.2 |
สิงหาคม | 35.2 | 22.3 | 28.8 |
กันยายน | - | - | - |
ตุลาคม | - | - | - |
พฤศจิกายน | - | - | - |
ธันวาคม | - | - | - |
ที่มา : สถานีอุตุนิยมวิทยาลพบุรี (ข้อมูล ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2549)
Seja o primeiro a comentar
แสดงความคิดเห็น