การศึกษาและรวบรวมพันธุ์ทานตะวันกินเมล็ดเพื่อการปรับปรุงพันธุ์
Agronomic Traits Study and Collection of Confectionery Sunflower for Breeding
คมสัน อำนวยสิทธิ์1 นาลอน สีมูลละ 1 บุญรอด จันตะเฆ่1 นัฏฐินัย รังผึ้ง1
สมเจต มูลเมือง1 อำนาจ ทับขำ1 มัตติกา สาวงษ์นาม1
Komsan Amnueysit1 Nalon Srimoonla1 Boonrawd Chantakae1 Nattinai Rangpuong1
Somjate Moonmuang1 Amnat Tupkham1 Mattika Sawongnam1
บทคัดย่อ
งานรวบรวมพันธุ์ทานตะวันกินเมล็ดได้นำทานตะวัน 31 สายพันธุ์ ศึกษาเปรียบเทียบพันธุ์และระยะปลูกที่เหมาะสม ให้ได้สายพันธุ์ทานตะวันที่มีศักยภาพเพื่อใช้ในการปรับปรุงประชากรและพัฒนาสายพันธุ์แท้ ช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2547 ถึงเดือนกันยายน 2548 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพิษณุโลก ปลูกคัดเลือกและประเมินศักยภาพ 13 สายพันธุ์ ที่ได้จากการคัดเลือกหลังจากการรวบรวมมา 31 สายพันธุ์ สายพันธุ์ที่ได้นำลงปลูกฤดูแรก ได้แก่ Ex2 Ex3 F2-เลย เชียงราย F1-ญี่ปุ่น ไพโอเนีย Bulk471 โคราช471 DOA แปซิฟิค 33 พม่า DM1 และ DM2 สายพันธุ์ที่ขนาดเมล็ดโตจะมีอายุออกดอกช้าที่สุด นอกจากนี้ยังได้นำพันธุ์ลูกผสมการค้าจากประเทศญี่ปุ่นมาปลูกเพื่อศึกษาระยะปลูก 4 ระยะปลูก คือ ระยะ 75X20 75X30 75X40 และ 75X50 เซนติเมตร ปลูก 1 ต้นต่อหลุม ระยะปลูกที่ให้ผลผลิตทานตะวันสูงที่สุดคือ ระยะปลูก 75X30 เซนติเมตร จำนวนต้น 7,111 ต้นต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 245 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เป็นแนวทางในการทดลองและปรับปรุงพันธุ์ทานตะวันต่อไป
ABSTARCT
Thirty-one lines of confectionery sunflower collected from different locations, were grown and studied to select high potential lines. Thirteen population/lines were selected to grow and evaluate the agronomic traits; Ex2, Ex3, F2–Loei, Chiangrai, F1-Japan, Pioneer, Bulk471, Korat471, DOA, pacific33, Burma, DM1 and DM2. From the 13 lines were showed correlation between seed size and the days to flowering. Furthermore, from this study during October 2004–September 2005 revealed that the best spacing of sunflower cultivation is 75x30 cm (7,111 plants/rai). It can be used this result to continue this program in the next generation.
คำนำ
ทานตะวันกินเมล็ด (confectionery หรือ non-oil sunflower) เป็นทานตะวันชนิดที่ใช้เมล็ดเป็นประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมอาหาร เป็นอาหารขบเคี้ยวและของว่าง ลักษณะของเมล็ดโดยทั่วไปมีขนาดใหญ่ ความยาวโดยประมาณ 5/8 นิ้ว เปลือกเมล็ดมีสีดำมีแถบขาว เปลือกหนาและหนักประมาณครึ่งหนึ่งของน้ำหนักทั้งเมล็ด เปลือกไม่ติดกับเนื้อในเมล็ด ขนาดของเมล็ดถูกควบคุมโดยพันธุกรรม อัตราการปลูกและสภาพฟ้าอากาศ โดยสามารถแบ่งกลุ่มตามขนาดของเมล็ดดังนี้ เมล็ดขนาดใหญ่จะไปสู่ตลาดในลักษณะพร้อมเปลือก สำหรับคั่วแล้วแทะบริโภคเนื้อในเมล็ด (kernel) เมล็ดขนาดกลางจะถูกกะเทาะเปลือกออก จำหน่ายเนื้อในเมล็ดทำผลิตภัณฑ์ของว่าง ของขบเคี้ยว ทำขนมปังและแต่งหน้าอาหารทั้งคาวหวาน ส่วนเมล็ดขนาด
1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตพิษณุโลก ต.บ้านกร่าง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000
1 Lanna Rajamangala University of Technology, Phitsanulok Campus, Ban – Krang, Phitsanulok 65000
เล็กใช้เป็นอาหารนก และสัตว์เลี้ยงอื่น ในด้านคุณค่าทางโภชนาการของเนื้อในเมล็ด พบว่า เนื้อในเมล็ดทานตะวันมีปริมาณโฟเลต ไวตามินอี และซีลีเนียมสูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดงาและพืชชนิดต่างๆ อีกทั้งเป็นแหล่งของเยื่อใยอาหารและไขมันดี (polyunsaturated fat) ที่เหมาะสำหรับสุขภาพ (National Sunflower Association, 2002) ปัจจุบันประเทศไทยต้องนำเข้าเมล็ดทานตะวันกินเมล็ดจากต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะ ตราบจนถึงปัจจุบันยังไม่มีพันธุ์ทานตะวันสำหรับกินเมล็ดแนะนำให้เกษตรกรเพื่อใช้ปลูก ซึ่งจากรายงานการปรับปรุงพันธุ์ทานตะวันกินเมล็ดของ เพิ่มศักดิ์ และคณะ (2544) ในปี 2546 ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกทานตะวันน้ำมัน 291,241 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 285,966 ไร่ ผลผลิตรวมทั้งหมด 32,324 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 113 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรขายได้ กิโลกรัมละ 9.89 บาท (ศูนย์สารสนเทศการเกษตร, 2546) เมื่อเปรียบเทียบกับราคาเมล็ดทานตะวันกินเมล็ด ที่จำหน่ายในท้องตลาดกิโลกรัมละ 28 บาท เมื่อนำไปแปรรูปเป็นอาหารหรือของขบเคี้ยวจะมีราคา 33-300 บาทต่อกิโลกรัม ผลผลิตต่อไร่ของทานตะวันกินเมล็ดของพันธุ์แม่สายและแม่โจ้ ให้ผลิตเฉลี่ย 192 และ 198 กิโลกรัมต่อไร่ (เพิ่มศักดิ์ และคณะ, 2546) โดยทางศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการวิจัยด้านพันธุ์ทานตะวันกินเมล็ดตั้งแต่ ปี 2535-2541 ด้วยการรวบรวมพันธุ์และเปรียบเทียบประเมินผลผลิต รวมทั้งการเปรียบเทียบพันธุ์ในท้องถิ่น ประเทศไทยได้เริ่มศึกษาวิจัยเกี่ยวกับทานตะวันมาตั้งแต่ปี 2513 แต่การค้นคว้าวิจัยอย่างจริงจังเพื่อให้มีทานตะวันในระดับการค้ายังมีน้อยมาก ทั้งที่เป็นพืชที่มีอนาคตสดใส เพราะความต้องการของตลาดสูง (Laosuwan, 1997) นอกจากทานตะวันมีพื้นที่ปลูกที่จำกัดแล้ว ยังให้ผลผลิตต่อไร่ค่อนข้างต่ำ อาทิในฤดูปลูกปี 2543/44 ผลผลิตเฉลี่ยในแหล่งปลูกที่สำคัญคือ จังหวัดลพบุรี ประมาณ 150 กิโลกรัมต่อไร่ (110-210 กิโลกรัมต่อไร่) (ไพโรจน์ และคณะ, 2544)
การศึกษาทางการเกษตรที่สำคัญบางประการ เพื่อดูลักษณะต่างๆ ของแต่ละสายพันธุ์นำไปประเมินประชากร เพื่อการปรับปรุงและคัดเลือกพันธุ์ทานตะวันกินเมล็ดให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และระยะปลูกที่เหมาะสมในประเทศไทย และส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตเพื่อเป็นอาหารขบเคี้ยว และศึกษาพัฒนารูปแบบ รสชาติของผลิตภัณฑ์ขบเคี้ยวจากเมล็ดทานตะวันให้มีความหลากหลาย นอกจากจะเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าทางการเกษตรแล้ว ยังทำให้ได้อาหารขบเคี้ยวที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เป็นการเพิ่มทางเลือกแก่ผู้บริโภค และลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการของประชากรได้อีกด้วย ทั้งนี้ผลการวิจัยยังอาจพัฒนาไปสู่การผลิตในระดับอุตสาหกรรมสอดคล้องกับนโยบาย และแนวทางการวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ
อุปกรณ์และวิธีการ
อุปกรณ์
- ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก
- ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 และ 46-0-0
- อุปกรณ์ในการปลูก ปฏิบัติดูแลรักษา และบันทึกข้อมูล
- เมล็ดพันธุ์ทานตะวันลูกผสมการค้า
- เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากการรวบรวมพันธุ์
วิธีการทดลอง
ขั้นตอนที่ 1 รวบรวมพันธุ์
- พันธุ์ผสมเปิดพื้นเมืองได้แก่ พันธุ์กินเมล็ด (confectionery type) และพันธุ์ไม้ดอก (flower type)
- พันธุ์ลูกผสมจากต่างประเทศ (F2-seeds) และพันธุ์การค้า (commercial varieties)
- สายพันธุ์จากโครงการวิจัยเกี่ยวกับทานตะวันในอดีตจากแหล่งต่างๆ ของประเทศไทย ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยต่างๆ
ปลูกศึกษาลักษณะทางการเกษตรและขยายเมล็ดพันธุ์ในแต่ละแหล่งพันธุกรรม คือ ลักษณะประจำพันธุ์ทานตะวันกินเมล็ด ผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของจานดอก น้ำหนัก 1,000 เมล็ด จำนวนเมล็ดต่อต้น สีของเมล็ด ความสูงต้น อายุเก็บเกี่ยว ความต้านทานต่อโรคและแมลง วิเคราะห์ปริมาณน้ำมันและแร่ธาตุอื่นๆ ผสมข้ามระหว่างกลุ่มสายพันธุ์ เพื่อทำให้เกิดความแปรปรวนทางพันธุกรรมเพื่อให้ได้ลักษณะใหม่ๆ และปรับตัวได้ดีพร้อมกับคัดเลือกสายพันธุ์ที่ต้องการอีกทั้งยังศึกษาระยะปลูกที่เหมาะสมของทานตะวันลูกผสมการค้า พันธุ์ F1ญี่ปุ่น โดยใช้ระยะห่างระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างหลุม 20 30 40 และ 50 เซนติเมตร วางแผนการทดลองแบบ สุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) ทำ 3 ซ้ำ พื้นที่แปลงย่อย 3x5 เมตร เพาะกล้าในถุงเพาะ เมื่อต้นกล้าอายุประมาณ 19-20 วัน จึงย้ายกล้าปลูก ก่อนปลูกโรยปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมักรองก้นหลุม
ผลการทดลองและวิจารณ์
ผลการศึกษาและรวบรวมพันธุ์ พร้อมกับปลูกเปรียบเทียบและเก็บข้อมูลทางการเกษตร 13 สายพันธุ์ พบว่า เปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดอยู่ระหว่าง 45-92 เปอร์เซ็นต์ สายพันธุ์ ไพโอเนีย มีความงอกสูงที่สุดสายพันธุ์ F1 ญี่ปุ่นมีความงอกต่ำสุด ความสูงต้นมีความสูงระหว่าง 56-246 เซนติเมตร สายพันธุ์ เชียงราย มีความสูงต้นสูงที่สุด สายพันธุ์ Ex3 มีความสูงต้นต่ำที่สุด จำนวนใบ มีจำนวนใบอยู่ระหว่าง 11-30 ใบ สายพันธุ์ เชียงรายมีจำนวนใบมากที่สุด สายพันธุ์ Ex3 มีจำนวนใบน้อยที่สุด ความกว้างของจานดอก มีความกว้างอยู่ระหว่าง 11-21 เซนติเมตร สายพันธุ์เชียงราย มีขนาดกว้างที่สุด สายพันธุ์ Ex3 มีขนาดจานดอกแคบที่สุด เปอร์เซ็นต์การติดเมล็ด อยู่ระหว่าง 59.09-86.41 เปอร์เซ็นต์ สายพันธุ์โคราช471 มีเปอร์เซ็นต์การติดเมล็ดมากที่สุด สายพันธ์ DM2 มีเปอร์เซ็นต์การติดเมล็ดน้อยที่สุด น้ำหนักเมล็ดต่อจานดอกอยู่ระหว่าง 17.60-86.00 กรัม สายพันธุ์เชียงราย มีน้ำหนักเมล็ดสูงที่สุดสายพันธุ์ DM2 มีน้ำหนักเมล็ดต่ำที่สุด อายุเก็บเกี่ยวอยู่ระหว่าง 92-108 วัน สายพันธุ์ Ex3 ไพโอเนีย Bulk1 และ DM2 มีอายุเก็บเกี่ยวเร็วที่สุด สายพันธุ์เชียงราย F1ญี่ปุ่น มีอายุเก็บเกี่ยวช้าที่สุด (Table 2)
จากการทดลองพันธุ์ลูกผสมการค้า โดยทำการปลูกเปรียบเทียบ 4 ระยะ คือ 75X20 75X30 75X40 และ 75X50 เซนติเมตร ความสูงต้นที่ระยะ 21 30 และ 37 วัน ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ส่วนความสูงที่ระยะ 43 57 และ 78 วัน มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (Table 3)
Table1 Germination percentage of confectionery sunflower lines at Phitsanulok Campus in 2005 D
No. | Population variety | Germinate (%) |
1 | เชียงราย | 76.00 |
2 | นครปฐม | 1.00 |
3 | ไพโอเนีย | 92.25 |
4 | DOA | 72.00 |
5 | โคราช 471 | 82.25 |
6 | สวรรคโลก | - |
7 | แปซิฟิก33 | 55.00 |
8 | ดอนเมือง1(B) | 50.00 |
9 | ดอนเมือง1(W) | 83.00 |
10 | F1 ญี่ปุ่น | 76.00 |
11 | F2 เลย | 45.00 |
12 | Ex1 | 59.00 |
13 | Ex2 | - |
14 | Ex3 | 56.00 |
15 | Ex4 | - |
16 | Ex5 | - |
17 | Bulk 471 | 64.00 |
18 | เมล็ดจากโรงงานคั่ว พม่า | 77.00 |
19 | Ex2F1 | 56.00 |
20 | เมล็ดใหญ่ดำขอบขาว | 70.00 |
21 | เมล็ดใหญ่ลายขาว | 91.00 |
22 | เมล็ดขาวลายใหญ่ | 42.00 |
23 | เมล็ดขาวลายดำกลาง | 52.50 |
24 | เมล็ดดำขาวสลับใหญ่ | 70.00 |
25 | เมล็ดดำเล็ก | 28.00 |
26 | เมล็ดดำลายเล็ก-ฮังการี | 2.00 |
27 | เมล็ดขาวยาวรี-ฮังการี | 70.00 |
28 | เมล็ดดำอ้วนป้อม-ฮังการี | 84.00 |
29 | เมล็ดลายดำอ้วนกลาง-ฮังการี | 46.00 |
30 | เมล็ดลายดำป้อม-ฮังการี | 96.00 |
31 | เมล็ดขาวยาวรี กลาง | 66.50 |
| Mean | 57.84 |
(-) non germinated
องค์ประกอบของผลผลิตด้านน้ำหนักก่อนและหลังกะเทาะต่อจานดอกจำนวนเมล็ดต่อจานดอก และผลผลิตต่อไร่ มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ โดยที่ระยะปลูก 75X30 เซนติเมตร ให้ผลผลิตต่อไร่สูงที่สุด แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับระยะปลูก 75x20 เซนติเมตร ซึ่งให้ผลผลิต 245 และ 138 กิโลกรัมตามลำดับ (Table 4)
Table 2 Physical properties and some agronomic traits of 13confectionery sunflower lines at Phitsanulok Campus in 2005
Variety | Germinate | Plant | No. of | Disc | No.of | Weight |
(%) | Height | leaves | diameter | seeds | per disc |
| (cm) |
| (cm) | (%) | (g) |
1. Ex3 | 56 | 56 | 11 | 11 | - | - |
2. Ex2 | 91 | 95 | 15 | 14 | 78.50 | 31.60 |
3. F2 เลย | 59 | 129 | 21 | 16 | 81.73 | 41.60 |
4. เชียงราย | 76 | 246 | 30 | 21 | 72.10 | 86.00 |
5. F1 ญี่ปุ่น | 45 | 216 | 30 | 20 | 74.23 | 45.00 |
6. ไพโอเนีย | 92 | 95 | 16 | 17 | 84.45 | 23.20 |
7. Bulk471 | 64 | 204 | 24 | 18 | 82.00 | 20.00 |
8. โคราช471 | 83 | 90 | 18 | 17 | 91.02 | 35.60 |
9. DOA | 72 | 70 | 14 | 18 | 86.41 | 41.21 |
10. แปซิฟิก33 | 55 | 133 | 22 | 17 | 69.37 | 44.40 |
11. พม่า | 77 | 147 | 30 | 18 | 75.35 | 29.20 |
12. DM2 | 83 | 61 | 12 | 20 | 59.09 | 17.60 |
13. DM1 | 50 | 156 | 19 | 19 | 80.31 | 52.80 |
Min-Max | 45-92 | 56-245 | 11-30 | 11-21 | 59.0-86.41 | 18.60-86.00 |
Table 3 Plant height (cm) of sunflower at different growth stages
Spacing (cm) | Plant height (cm) |
21 Days | 30 Days | 37 Days | 43 Days | 57 Days | 78 Days |
75x20 | 21 | 32 | 42 | 59 | 79 | 120 |
75x30 | 23 | 30 | 42 | 58 | 75 | 127 |
75x40 | 22 | 29 | 38 | 51 | 70 | 107 |
75x50 | 22 | 31 | 38 | 51 | 67 | 111 |
F-test | ns | ns | ns | ** | * | * |
C.V.% | 7.75 | 5.6 | 3.0 | 5.35 | 7.47 | 8.54 |
Table 4 Some agronomic traits of sunflower grown with 4 different population densities in 2005
Spacing (cm) | Characteristics of Yield |
Disc weight per | Seed weight per | No.of seeds | Yield (kg/rai) |
plant (g) | disc (g) | per disc |
|
75X20 | 21.78 c | 12.60 b | 603 b | 238 a |
75X30 | 35.75 b | 22.95 a | 651 ab | 245 a |
75X40 | 37.75 ab | 22.75 a | 807 a | 216 b |
75X50 | 40.9 a | 26.80 a | 837 a | 195 c |
F-test | ** | ** | * | ** |
C.V.% | 7.4 | 13.1 | 15.5 | 8.5 |
In a column, means followed by a common letter are not significantly different at the 5 % level by DMRT.
สรุปผลการทดลอง
การศึกษาและรวบรวมพันธุ์ทานตะวันกินเมล็ดเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ พบว่าลักษณะทางการเกษตรที่มีความแตกต่างกันในแต่ละสายพันธุ์ เช่น ความสูงต้น เส้นผ่าศูนย์กลางของจานดอก จำนวนใบต่อต้น เปอร์เซ็นต์การติดเมล็ด น้ำหนักเมล็ดต่อจานดอก อายุเก็บเกี่ยว การกระจายตัวของเมล็ด สีของเมล็ด แตกต่างกันในสายพันธุ์เดียวกัน ส่วนการเปรียบเทียบระยะปลูก 4 ระยะ โดยระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับทานตะวันพันธุ์การค้า คือระยะปลูกที่ 75X30 เซนติเมตร ให้ผลผลิตสูงสุดเฉลี่ย 245 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ได้ทำการทดลองในลักษณะพื้นที่ลาดชัน อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย การศึกษาครั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์และแนวทางในการคัดเลือกลักษณะสายพันธุ์ผสมเปิดและสายพันธุ์ลูกผสมที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาต่อไป
เอกสารอ้างอิง
ไพโรจน์ พันธุ์พฤกษ์ ประสาน พรมสูงวงค์ ลักษณาวดี พันธุ์พฤกษ์ และเทียนชัย สุวรรณเวช. 2544. การใช้ปุ๋ยเคมีและศักยภาพการผลิตทานตะวันในดินเหนียวจังหวัดนครสวรรค์และลพบุรี. หน้า 142-147. ใน : การประชุมวิชาการงา ทานตะวัน ละหุ่ง และคำฝอยแห่งชาติ ครั้งที่ 2. วันที่ 16-17 สิงหาคม 2544 ณ วังรีสอร์ท จ.นครนายก.
เพิ่มศักดิ์ สุภาพรเหมินทร์ ศุภชัย แก้วมีชัย ชัชวิจก์ ถนอมถิ่น สมศักดิ์ ศรีสมบุญ สุวิทย์ ปัญสุรินทร์ และสิทธิ์ แดงประดับ. 2544. การปรับปรุงพันธุ์ทานตะวันกินเมล็ด. หน้า 156-166 ใน : การประชุมวิชาการ งา ทานตะวัน ละหุ่ง และคำฝอยแห่งชาติ ครั้งที่ 2. วันที่ 16-17 สิงหาคม 2544 ณ วังรีสอร์ท จ.นครนายก.
เพิ่มศักดิ์ สุภาพรเหมินทร์ ชัชวิจก์ ถนอมถิ่น ดนุวัต เพ็งอ้น อนันต์ ปินตารักษ์ สุวิทย์ ปัญสุรินทร์ สมศักดิ์ ศรีสมบุญ บุญญา อนุสรณ์รัชดา และศุภชัย แก้วมีชัย. 2546. การปรับปรุงพันธุ์ทานตะวันกินเมล็ดสำหรับภาคเหนือ. หน้า 150-156. ใน : การประชุมวิชาการ งา ทานตะวัน ละหุ่ง และคำฝอยแห่งชาติ ครั้งที่ 3. วันที่ 11-12 ธันวาคม 2546 ณ ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่.
รัชตา ทนวิทูวัตร และการุณย์ ศิวรานนท์. 2546. การเปรียบเทียบการเจริญเติบโต ผลผลิต และองค์ประกอบผลผลิตของทานตะวันกินเมล็ด. หน้า 241-247. ใน : การประชุมวิชาการ งา ทานตะวัน ละหุ่ง และคำฝอยแห่งชาติ ครั้งที่ 2. วันที่ 11-12 ธันวาคม 2546 ณ ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่.
ศูนย์สารสนเทศการเกษตร. 2547. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2546. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 30 หน้า.
Laosuwan, P. 1997. Sunflower production and research in Thailand. Suranaree J. Sci. Technol. 4:159-167.
National Sunflower Association. 2002. Sunflower: 4 confection/ Non Oil. http://WWW.Sunflower.com/. confection/cetail. Asp. Page 1 of 2.